วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

unit1-2


หน่วยที่ 1
ธุรกิจขนาดย่อมและผู้ประกอบการ
1. ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อม
2. บทบาทความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
3. การเข้าสู่ธุรกิจขนาดย่อม
4. กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของธุรกิจขนาดย่อม
5. ผู้ประกอบการ
6. จุดเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ
7. ความพร้อมในการเริ่มต้นธุรกิจ

ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อม
จะต้องมีลักษณะอย่างน้อยที่สุดสองประการจากสี่ประการต่อไปนี้คือ
1.การบริหารงานเป็นไปอย่างอิสระ
2. เงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นเงินทุนส่วนตัว
3. ขอบเขตการดำเนินงานของธุรกิจอยู่ในเขตพื้นที่ท้องถิ่นเป็นส่วนมาก
แต่ตลาดไม่จำเป็นต้องอยู่ในท้องถิ่นนั้นก็ได้
4.ธุรกิจมีขนาดเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน

บทบาทความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจขนาดย่อมมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยเพิ่มการจ้างแรงงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม และเป็นแหล่งที่มาของนวัตกรรมใหม่ของตลาดจำนวนมาก ส่งเสริมการแข่งขันเสรี สนับสนุนการดำเนินการของธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นแหล่งพัฒนาทักษะฝีมือ และ ช่วยกระจายรายได้ไปตามชุมชนต่าง ๆ

การเข้าสู่ธุรกิจขนาดย่อม
การเข้าสู่ธุรกิจขนาดย่อมนั้นมีหลายช่องทาง ได้แก่ การซื้อธุรกิจต่อจากผู้อื่น (Boy out/Take Over) การรับช่วงกิจการครอบครัว (Family Business) ก่อตั้งธุรกิจใหม่ด้วยตนเอง (Startup) การรับสิทธิทางการค้า หรือที่เรียกว่า แฟรนไชส์ (Franchise)

ผู้ประกอบการ
การเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) กับการเป็นลูกจ้างนั้นมีความแตกต่างกันในหลายแง่มุม แรงดลใจที่ทำให้บุคคลหันมาประกอบธุรกิจมักมาจากกำไรและความมั่นคง ความพอใจส่วนบุคคล ความเป็นอิสระและอำนาจ สถานภาพทางสังคม และความเกี่ยวข้องกับครอบครัว ผู้ประกอบการอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยง ได้แก่ ความเสี่ยงต่อธุรกิจ ความเสี่ยงต่อทรัพย์สิน ความเสี่ยงจากบุคลากร ความเสี่ยงจากลูกค้า คุณลักษณะของผู้ประกอบการนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จหรือความล้มเหลวของกิจการ

ความพร้อมในการเริ่มต้นธุรกิจ
1. ความพร้อมส่วนบุคคล
2. พิจารณาฐานะทางการเงิน
3. ข้อพิจารณาทางการตลาด
4. ข้อพิจารณาทางการบริหารทั่วไป



หน่วยที่ 2
พื้นฐานการตลาดสำหรับวางแผนธุรกิจ
1. กระบวนการทางการตลาด
2. การวางแผนการตลาด
3. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์
4. กลยุทธ์ราคา
5. กลยุทธ์การจัดจำหน่าย
6. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด

กระบวนการทางการตลาด
กระบวนการทางการตลาด หมายถึง การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด การพัฒนากลยุทธ์การตลาด การวางแผนโปรแกรมการตลาด

การวางแผนการตลาด
การวางแผนการตลาด (Marketing objectives) เป็นการกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ทางการตลาด และการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด

กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์
1. องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย ตัวผลิตภัณฑ์ ลักษณะของผลิตภัณฑ์ ส่วนควบหรือส่วนเสริมของผลิตภัณฑ์ สิ่งที่คาดหวังจากผลิตภัณฑ์
2. ประเภทของผลิตภัณฑ์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค (consumer products) และ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (industrial products)
3. ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์ (Product Mix) ประกอบด้วย ความกว้างของผลิตภัณฑ์
ความยาว ความลึก และ ความสอดคล้องของส่วนประสมผลิตภัณฑ์
4. การตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ต้องคำนึงถึง คุณภาพ ตราสินค้า บรรจุภัณฑ์ ป้ายฉลาก

กลยุทธ์ราคา
การตั้งราคามีหลายวิธี ได้แก่ การตั้งราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา การกำหนดราคาเพื่อส่งเสริมการขาย การตั้งราคาทางภูมิศาสตร์
กลยุทธ์การปรับราคา (Price-Adjustment Strategies) ได้แก่ การให้ส่วนลดและส่วนยอมให้ การกำหนดราคาสำหรับส่วนตลาด การกำหนดราคาแตกต่างตามทำเลที่ตั้ง การกำหนดราคาแตกต่างตามเวลา

กลยุทธ์การจัดจำหน่าย
ผู้ประกอบการควรสร้างกลยุทธ์ในการจัดจำหน่าย ดังต่อไปนี้
1. เลือกช่องทางการจัดจำหน่ายที่แตกต่างจากคู่แข่งขันรายอื่น
2. รักษาความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้จัดจำหน่าย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน
3. การจัดการความขัดแย้งของช่องทางการจัดจำหน่าย
4. การเพิ่มหรือลดช่องทางการจัดจำหน่าย

กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด
การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ประกอบด้วย การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การขายโดยบุคคล การตลาดทางตรง (Direct Marketing) การสื่อสารโดยการใช้กิจกรรมพิเศษทางการตลาด (Event Marketing) การจัดการแสดงสินค้า (Exhibition)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น